ต้นทุนขาย FIFO VS. LIFO VS. Weight Average
หลายๆคนคงคุ้นหูคุ้นตากันดีกับคำว่า “FIFO หรือ First in First Out (เข้าก่อน – ออกก่อน)” “LIFO หรือ Last In First Out (เข้าหลังออกก่อน) และ “Weight Average หรือ (ถัวเฉลี่ยน้ำหนัก)” ซึ่งวิธีทั้งสามนั้นโดยทั่วไปเรามักหมายถึงวิธีการคิดต้นทุนขาย ซึ่งวิธีทั้ง FIFO ,LIFO ,W.A นั้นเป็นหนึ่งในวิชาการเงินและการบัญชี จะทำให้กิจการมีการรับรู้ต้นทุนขายระหว่างงวด สินค้าคงเหลือ กำไรสุทธิและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแตกต่างกัน ฉะนั้นกิจการต่างๆจะใช้วิธีการคิดต้นทุนขายวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างการทำธุรกิจ และสินค้าที่มีไว้เพื่อค้า
ตัวอย่างวิธีการคิดต้นทุนขาย
สินค้าคงเหลือปลายปี 25x1 500 หน่วย ต้นทุนยกมา หน่วยละ 190 บาท
ซื้อเพิ่ม ณ เดือนมีนาคม 25x2 100 หน่วย ในราคาหน่วยละ 200 บาท
ซื้อเพิ่ม ณ เดือนมิถุนายน 25x2 200 หน่วย ในราคาหน่วยละ 220 บาท
ซื้อเพิ่ม ณ เดือนพฤศจิกายน 25x2 150 หน่วย ในราคาหน่วยละ 240 บาท
สิ้นปี ณ 31 ธันวาคม 25x2 ตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ 200 หน่วย
ดังนั้นวิธีคิดคิดต้นทุนรวมทั้งหมดมีดังนี้
วันที่ |
รายการ |
ราคา |
จำนวนหน่วย |
ยอดรวม |
ปลายปี 25x1 |
สินค้าคงเหลือยกมา |
190 |
500 |
95,000 |
มีนาคม 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
200 |
100 |
20,000 |
มิถุนายน 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
220 |
200 |
44,000 |
พฤศจิกายน 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
240 |
150 |
36,000 |
|
รวม |
950 |
195,000 |
ดังนั้นเราสามารถหาจำนวนสินค้าที่ขายไปได้ดังนี้
(จำนวน)สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อเพิ่มระหว่างงวด – สินค้าคงเหลือปลายงวด = สินค้าขายระหว่างงวด
500 + 450 – 200 = 750 หน่วย
วิธีต้นทุนขาย FIFO (เข้าก่อน – ออกก่อน)
รายการ |
ราคา |
จำนวนหน่วย |
ยอดรวม |
ยอดยกมา |
190 |
500 |
36,000 |
มีนาคม 25x2 |
200 |
100 |
20,000 |
มิถุนายน 25x2 |
220 |
150 |
33,000 |
|
รวม |
750 |
148,000 |
วิธีต้นทุนขาย LIFO (เข้าหลัง – ออกก่อน)
รายการ |
ราคา |
จำนวนหน่วย |
ยอดรวม |
พฤศจิกายน 25x2 |
240 |
150 |
36,000 |
มิถุนายน 25x2 |
220 |
200 |
44,000 |
มีนาคม 25x2 |
200 |
100 |
20,000 |
ยอดยกมา |
190 |
300 |
57,000 |
|
รวม |
750 |
157,000 |
วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยน้ำหนัก Weight Average
วันที่ |
รายการ |
ราคา |
จำนวนหน่วย |
ยอดรวม |
ปลายปี 25x1 |
สินค้าคงเหลือยกมา |
190 |
500 |
95,000 |
มีนาคม 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
200 |
100 |
20,000 |
มิถุนายน 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
220 |
200 |
44,000 |
พฤศจิกายน 25x2 |
ซื้อเพิ่ม |
240 |
150 |
36,000 |
|
รวม |
950 |
195,000 |
ฉะนั้นต้นทุนต่อหน่วยคือ 195,000 / 950 = 205.26 บาท
ดังนั้นต้นทุนรวมกรณีขาย 750 หน่วย = 205.26 x 750 = 153,954 บาท
เราจะเห็นว่าวิธีการคิดต้นทุนขายแบบ FIFO จะมีต้นทุนที่ต่ำสุด ,Weight Average จะอยู่ต้นทุนอยู่ระหว่างวิธี FIFO และ LIFO และวิธี LIFO จะมีราคาต้นทุนที่สูงที่สุด จึงเกิดคำถามว่า “เมื่อไหร่ หรือเพราะอะไร เราจะใช้วิธีคิดต้นทุนแบบไหนดี”
เหตุผลมีดังนี้ครับ วิธีต้นทุนขายแบบ FIFO หรือ เข้าก่อน – ออกก่อน จะนิยมใช้กับสินค้าทั่วไปและสินค้าที่มีวันหมดอายุ อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพราะเราจะนิยมนำของเก่าออกขายก่อน เพื่อป้องกันสินค้าหมดอายุหรือเน่าเสีย การคิดต้นทุนที่เหมาะสมจึงใช้แบบ FIFO
วิธีต้นทุนขายแบบ LIFO หรือ เข้าหลัง – ออกก่อน จะนิยมใช้กับสินค้าที่มี Life Cycle Time ที่สั้น หรือสินค้าเทคโนโลยีที่มีโอกาสล้าสมัยได้เร็ว เช่นคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสินค้าที่มีการซื้อขายในราคาตลาดเป็นหลัก และต้นทุนนั้นๆจะต้องปรับให้เป็นปัจจุบันเสมอ สินค้าที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น
วิธีต้นทุนขายแบบถัวเฉลี่ยน้ำหนัก (Weight Average) จะใช้ในสินค้าที่มีราคาซื้อขายขึ้นๆลงๆไม่ห่างกันมาก สินค้ามีความคงทนไม่เน่าเสีย สินค้าที่มีการซื้อเป็นปริมาณมากๆ แต่ไม่ใช่สินค้าเทคโนโลยีเหมือนกับสินค้าที่ใช้วิธี LIFO
สมมติจากตัวอย่างเดิม บริษัทขายสินค้าหน่วยละ 300 บาท สมมติให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ และอัตราภาษีที่ 30% รายการแสดงต้นทุนกำไรที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
วิธีต้นทุนขาย |
ยอดขาย |
ต้นทุนขาย |
กำไรขั้นต้น |
สินค้าคงเหลือ |
กระแสเงินสดจ่ายภาษี |
FIFO (เข้าก่อน – ออกก่อน) |
225,000 |
148,000 |
77,000 |
(195,000-148,000) = 47,000 |
77,000(0.3) = 23,100 |
Weight Average (ถัวเฉลี่ยน้ำหนัก) |
225,000 |
153,954 |
71,046 |
(195,000-153,954) = 41,046 |
71,046(0.3) = 21,313.8 |
LIFO (เข้าหลัง – ออกก่อน) |
225,000 |
157,000 |
68,000 |
(195,000-157,000) = 38,000 |
68,000(0.3) = 20,400 |
วิธีต้นทุนขาย |
ต้นทุนขาย |
กำไรขั้นต้น |
สินค้าคงเหลือ |
กระแสเงินสดจ่ายภาษี |
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน |
FIFO (เข้าก่อน – ออกก่อน) |
ต่ำสุด |
สูงสุด |
สูงสุด |
สูงสุด |
ต่ำสุด |
Weight Average (ถัวเฉลี่ยน้ำหนัก) |
อยู่ระหว่าง FIFO และ LIFO |
อยู่ระหว่าง FIFO และ LIFO |
อยู่ระหว่าง FIFO และ LIFO |
อยู่ระหว่าง FIFO และ LIFO |
อยู่ระหว่าง FIFO และ LIFO |
LIFO (เข้าหลัง – ออกก่อน) |
สูงสุด |
ต่ำสุด |
ต่ำสุด |
ต่ำสุด |
สูงสุด |
จากวิธีการคิดต้นทุนขายทั้ง 3 วิธีนั้น ชี้ให้เห็นได้ว่ากิจการสามารถเลือกวิธีการรับรู้ต้นทุนและผลกำไรจากการดำเนินงานได้แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการคิดต้นทุนขายยังมีผลกระทบต่อจำนวนกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายภาษีอีกด้วย ซึ่งผู้บริหารจะใช้ความรู้เหล่านี้ วางแผนในการรับรู้ค่าใช้จ่ายและวางแผนการจ่ายภาษีได้อีกทางด้วย
นอกจากวิธีการคิดต้นทุนแบบ FIFO ,LIFO ,Weight Average ยังมีวิธีการคิดต้นทุนแบบอื่นอีกเช่น แบบเฉพาะเจาะจง (Special list) เป็นการคิดต้นทุนโดยระบุไปในตัวสินค้าชิ้นนั้นๆว่ามีต้นทุนเท่าไหร่ ซึ่งจะใช้กับสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ หรืองานสั่งทำ (Job Order) เป็นต้น เช่นต้นทุนของรถยนต์คันหนึ่งมีราคา 300,000 บาทเป็นต้น เมื่อมีรายการขาย กิจการจะคิดต้นทุนขายโดยระบุสินค้าชิ้นนั้นๆลงไปเลย และยังมีวิธีคิดต้นทุนตามผลของงานที่ทำเสร็จ เช่นโครงการก่อสร้าง จะรับรู้ต้นทุนตามการประเมินและผลของการทำงานที่แล้วเสร็จ เช่นงานก่อสร้างกำหนด 10 ปี ทำไปแล้วเสร็จ 2 ปี 20%เป็นต้น ต้นทุนก็จะคิดที่ 20%ของต้นทุนที่ประเมินไว้ทั้งหมด หรือที่เกิดขึ้นจริงจามสัดส่วน
ฉะนั้นการคิดต้นทุนขายให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง นอกจากช่วยให้ง่ายต่อการคิดต้นทุนและสะดวกในการดำเนินงาน แล้วยังช่วยให้เราประเมินถึงต้นทุนที่เหมาะสมกับความเป็นจริงและช่วยให้วางแผนในการจัดตั้งงบประมาณการขาย และควบคุมค่าใช้จ่ายได้เช่นกันครับ >>>
By Challenge Me Tutor