ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน (Equity)
กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) หรือกำไรจากการขาย
เงินปันผล (Dividend)
เงินได้จากการนำผลตอบแทนไปลงทุนต่อ (Reinvestment)
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ (Debt)
กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) หรือกำไรจากการขาย
เงินได้ดอกเบี้ย (Interest Income) แบ่งออกเป็น
- ดอกเบี้ยคงที่ (Fix Rate) จะกำหนดไว้แน่นอนตลอดอายุตราสารหนี้
- ดอกเบี้ยลอยตัว (Float Rate) จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR MRR
- ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Rate) จะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยตลอดอายุตราสารหนี้ แต่จะมีราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าหน้าตั๋วเสมอ
เงินได้จากส่วนลด (Discount)
เงินได้จากการนำผลตอบแทนไปลงทุนต่อ (Reinvestment)
ประเภทความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk)
ความเสี่ยงของดอกเบี้ย (Interest rate Risk)
คือความเสี่ยงของความผันผวนของดอกเบี้ย จากการลงทุนในตราสารหนี้
ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)
คือความเสี่ยงของความผันผวนของสภาวะตลาดที่ลงทุน
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) หรือความเสี่ยงด้านผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
คือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่คืนเงินต้น หรือคู่สัญญาไม่ทำตามสัญญา
ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk)
คือความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารหนี้อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทน
ความเสี่ยงจากการนำผลตอบแทนไปลงทุนซ้ำ (Reinvestment)
คือ ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยท้องตลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการนำผลตอบแทนที่ได้ไปลงทุนต่อ
ความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
คือ ความเสี่ยงของการนำหลักทรัพย์ไปขายต่อยังตลาดรอง และหากหลักทรัพย์นั้นๆ ไม่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน
ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
คือ ความเสี่ยงของภาวะที่ราคาสินค้าและบริการมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้อำนาจซื้อของนักลงทุนลดลง ซึ่งในอีกแง่มุม อัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของนักลงทุนอีกด้วย
ความเสี่ยงของการการถือครองหลักทรัพย์ที่มีออปชั่น (Embedded Option Risk)
คือ ความเสี่ยงของการถือครองหลักทรัพย์ที่มีออปชั่นแฝง เช่นการถูกไถ่ถอนก่อนกำหนด (กรณี Callable Bond ผู้ออกจะสามารถใช้สิทธิเรียกตราสารหนี้คืนก่อนครบกำหนดได้) (กรณี Puttable Bond ผู้ซื้อจะสามารถใช้สิทธิขายตราสารหนี้คืนก่อนครบกำหนดได้)