ปัจจุบัน การลงทุนของนักลงทุนหรือนักอดออมเงิน มีหลายทางเลือก เช่นการลงทุนในตราสารทุน การลงทุนในตราสารหนี้ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน และการลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นต้น
ซึ่งในบทความนี้ ผมขอพูดถึงการลงทุนใน “กองทุนรวม” เป็นหลัก เนื่องจากว่า ปกติแล้วนักลงทุนที่มีความรู้จะเลือกลงทุนในหุ้นผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET นั้นเอง แต่หากบุคคลเหน่านั้นอยากลงทุน แต่ไม่มีความรู้ ก็ไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้อย่างสนิทใจแน่นอน ดังนั้นกองทุนรวมจึงเป็นอีกทางเลือกของนักลงทุนที่อาจจะไม่มีความรู้ในกาลงทุนได้เป็นอย่างดี
ซึ่ง กองทุนรวม คือหน่วยลงทุนที่ระดมจากนักลงทุน เพื่อนำไปลงทุนตามวัตถุประสงค์ตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยกองทุนนั้นๆจะมีผู้จัดการกองทุน ผู้มีความรู้ความสารถในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยจะสรุปมูลค่าของกองทุนในรูปแบบของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NAV) นั้นเอง
สรุปเบื้องต้นว่า กองทุนรวมเหมาะสมกับบุคคล 3 ประเภทดังนี้
- ผู้ที่มีเงินทุนจำกัด หรือต้องการลงทุนเป็นมูลค่าไม่สูงนัก และต้องการกระจายการลงทุน เนื่องจากกองทุน 1 กอง จะมีการลงทุนในหลักทรัพย์หลายชนิด
- ผู้ที่ไม่มีความรู้ในการลงทุน ซึ่งในการบริหารจัดการกองทุนนั้นๆ จะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารการลงทุนคอยดูแลจัดการกองทุนในเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งยังมีสำนักงาน กลต. และผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุน ในการเฝ้าติดตามการทำงานของผู้จัดการกองทุน แทนนักลงทุนอีกด้วย
- ผู้ที่ไม่มีเวลาในการติดตามการลงทุน จากเหตุผลที่มีผู้จัดการกองทุนในการบริหารจัดการกองทุน ทำให้นักลงทุนไม่จำเป็นต้องนั้นเฝ้าผลของการลงทุนด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนรวม
- กองทุนรวมมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุน บริหารกองทุนแทนที่นักลงทุนต้องดำเนินงานด้วยตนเอง
- กองทุนรวมมีนโยบายหลากหลายให้เลือกช็อปปิ้ง เช่น กองทุนตราสารทุน กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนผสม เป็นต้น อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่นกองทุนปิด กองทุนเปิด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน หรือความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้
- การลงทุนในกองทุนรวมประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลงทุน จะมีการคิดเฉลี่ยสุทธิออกมาในรูปแบบของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NAV) ต่อหน่วย ซึ่งหากนักลงทุนจะโดยคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ตามจำนวนหน่วยที่ลงทุน คือลงทุนเยอะก็จ่ายเยอะ ลงทุนน้อยก็จ่ายน้อย คล้ายๆกับค่าส่วนกลางของคอนโดที่คิดต่อ ตารางเมตร นั้นเอง
- กำไรจากการขายกองทุนรวม ไม่เสียภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งจากจากการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ ที่ดอกเบี้ยจะโดยหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
- กองทุนรวมบางกองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เช่นกองทุนเพื่อการเลียงชีพ(RMF) ,กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) รวมไปถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
- การลงทุนในกองทุนรวมมีสำนักงาน กลต. คอยกำกับดูแลกองทุน โดยจะคอยกำกับดูแลตั้งแต่การอนุญาตให้เสนอขายได้ รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆให้มีความชอบธรรม และถูกต้องก่อนที่กองทุนนั้นๆ จะมีการเสนอขายแก่นักลงทุน
ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
- การลงทุนในกองทุนรวมจะไม่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากกองทุนแต่ละกอง จะระบุชนิดและประเภทของการลงทุนไว้ รวมไปถึงสัดส่วนของชนิดหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการลงทุนของกองทุนนั้นๆ จะต้องเป็นไปตามกรอบที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนไม่สามารถดำเนินการให้ผู้จัดการกองทุนทำการลงทุนในหลักทรัพย์ตามอำเภอใจของตนเองได้ รวมไปถึงวิธีการซื้อขายของกองทุนรวมนั้นๆ ก็จะระบุไว้ชัดเจนเช่นกัน จึงทำให้นักลงทุนไม่สามารถทำการซื้อขายในช่วงเวลาตามใจตนเองได้
- การลงทุนในกองทุนไม่ใช่การออมเงิน ดังนั้นก่อนลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาถึงชนิดกองทุน รวมไปถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนที่แตกต่างกันในแต่ละกอง ซึ่งบางกองทุนอาจมีระดับความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลขาดทุนได้
- ข้อมูลที่ได้รับจากการลงทุนไม่ทันสมัย ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. จะมีการส่งสรุปข้อมูลบัญชีการลงทุนของลูกค้าให้เป็นช่วงๆ เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวมักถึงมือนักลงทุนล่าช้า
- การลงทุนในกองทุนรวมมีค่าใช้จ่าย ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนในกองทุนรวมนั้นจะถูกคิดตีผ่านมาเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NAV) แล้วคิดตามสัดส่วนที่ลงทุนเท่านั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่ามีค่าใช้จ่ายในการลงทุนอยู่ดี ซึ่งบางกองทุนอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย หรือสับเปลี่ยนกองทุนเพิ่มเติมได้
ประเภทของกองทุนแบ่งตามการซื้อขาย
- กองทุนปิด เป็นกองทุนที่กำหนดอายุโครงการแน่นอน โดยจะมีการขายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งระหว่างทางก่อนครบกำหนดจะไม่มีการซื้อขายหรือเพิ่มลดหน่วยลงทุน และเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการกองทุน ระบบจะทำการขายคืนอัตโนมัติ
- กองทุนเปิด เป็นกองทุนที่ไม่ได้กำหนดอายุโครงการแน่นอน โดยจะสามารถทำการซื้อขายได้ตลอดตามที่หนังสือชี้ชวนระบุไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการซื้อขายทุกวนทำการ เช่น ทุกวัน, ทุกสัปดาห์, ทุกเดือน และทุก 6 เดือน เป็นต้น
ประเภทกองทุนทั่วไป
- กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนหุ้น จะเป็นกองทุนที่มีข้อกำหนดให้มีการลงทุนในตราสารทุน ตั้งแต่ร้อยละ 65 ของมูลค่ากองทุนที่จดทะเบียนไว้
- กองทุนรวมตราสารหนี้ จะเป็นกองทุนที่กำหนดให้ลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น โดยจะแบ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี)
- กองทุนรวมผสม จะเป็นกองทุนที่กำหนดให้ลงทุนในตราสารทุนไม่เกินร้อยละ 65 ของมูลค่ากองทุนที่จดทะเบียนไว้
สำหรับช่องทางในการซื้อขายกองทุน หลักๆจะทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน หรือ บลจ. ซึ่งช่องทางที่ผ่านที่สุดคือการซื้อขายผ่าน บลจ. ที่เป็นของสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่พวกเราใช้บริการอยู่นั้นเองครับ
โดยพนักงานผู้ที่สามารถเสนอขายหรือแนะนำการลงทุนให้แก่นักลงทุน จะต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านกองทุน หรือด้านหลักทรัพย์ (Single license) ซึ่งหลักเกณฑ์ ความหมาย รวมไปถึงการติวสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.challengemetutor.com/index.php?mo=14&newsid=325051
ดังนั้น บทความนี้เป็นการนำเสนอความหมายของกองทุนรวมสั้นๆ รวมไปถึงข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวมที่นักลงทุนควรพิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งโอกาสหน้าผมจะอธิบายถึงประเภทของกองทุนรวมที่สำคัญแต่ละชนิดให้ผู้อ่านได้ศึกษากันต่อไปครับ
Challenge Me Tutor