สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

กำไรทางบัญชีต่างกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร?

กำไรทางบัญชีต่างกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร?

 

กำไรทางบัญชีต่างกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร?

                ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือการบริการ ย่อมต้องมีการวางแผนและกลยุทธ์ในการแข่งขัน ตลอดจนถึงกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบหลักในการวางแผนเพื่อดำเนินธุรกิจให้เป็นไปยังเป้าหมายนั้นก็คือ การวางแผนทางนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการประมาณต้นทุนและรับรู้กำไรที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการวัดผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจของเรา ฉะนั้นกำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐศาสตร์จึงต่างกัน

 

                กำไรทางบัญชี คือ รายได้รวมหักค่าใช้จ่ายรวม จะเป็นการวัดผลการดำเนินงานที่มีเป็นผลลัพธ์เป็นตัวเลขอย่างชัดเจน ตามหลักการบัญชีและมาตรฐานทางบัญชี โดยที่ยังไม่มีการคิดคำนวณถึงผลกระทบทางธุรกิจที่ไม่สามารถวัดค่าได้อย่างเช่นค่าเสียโอกาสเป็นต้น

                ตัวอย่างที่1   สถาบัน Challenge Me Tutor มียอดรายได้ค่าบริการจากการสอนรวมปี 25x1 ที่ 30,000,000 บาท และมีต้นทุนค่าติวเตอร์ที่ 15,000,000 บาท  มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวม 5,000,000 บาท

ดังนั้นกำไรทางบัญชีของ สถาบัน Challenge Me Tutor  คือ  30,000,000 – 15,000,000 – 5,000,000  = 10,000,000 บาท

 

                กำไรทางเศรษฐศาสตร์ คือ รายได้รวมหักค่าใช้จ่ายรวมทางบัญชี หรือกำไรทางบัญชี  หักกับ ต้นทุนค่าเสียโอกาสในแต่ละทางเลือก

                ตัวอย่างที่2  จากตัวอย่างที่1  สมมติสถาบัน Challenge Me Tutor ไม่พิจารณาที่จะใช้การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผลทำให้สูญเสียโอกาสในการทำรายได้เพิ่มขึ้นที่ 5,000,000 บาท  โดยค่าโฆษณานี้มีค่าใช้จ่ายจำนวน 3,000,000 บาท   ดังนั้นค่าเสียโอกาสจากเหตุการณ์ในข้างต้นคือ 5,000,000 – 3,000,000 = 2,000,000 บาท

ดังนั้น กำไรทางเศรษฐศาสตร์ของ สถาบัน Challenge Me Tutor  คือ  30,000,000 – 15,000,000 – 5,000,000 – 2,000,000  = 8,000,0000 บาท

 

  • จะเห็นได้ว่า ต้นทุนทางการบัญชีจะมีแต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและวัดโดยมาตรฐานทางการบัญชี แต่ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จะวัดโดยมูลค่าที่เกิดจากค่าเสียโอกาสในแต่ละทางเลือก นั้นเองครับ .....

 

หากจะแยกให้ชัดๆจากตัวอย่างที่1 และ ตัวอย่างที่ 2

ต้นทุนทางบัญชี คือ ต้นทุนรวม(ค่าใช้จ่ายติวเตอร์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) ซึ่งมียอดที่ 20,000,000 บาท

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ คือ  ค่าเสียโอกาส 2,000,000 บาท

 

  • หากไม่มีค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น  ต้นทุนรวมทางบัญชี จะเท่ากับ  ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ และ  กำไรทางการบัญชี จะเท่ากับ  กำไรทางเศรษฐศาสตร์ เช่นกัน

 

 สรุป

  1. ต้นทุนรวมทางบัญชี  ต่ำกว่า  ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
  2. ต้นทุนทางบัญชี คิดและคำนวณหาได้ง่ายกว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
  3. กำไรทางบัญชี  สูงกว่าหรือเท่ากับ  กำไรทางเศรษฐศาสตร์
  4. ในการคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จะไม่นำต้นทุนจม(Sunk Cost) เข้ามาเกี่ยวข้อง
  5. บุคคลภายนอกมักจะสนใจแค่กำไรและต้นทุนทางบัญชี แต่กำไรและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญในการวางแผนและบริหารธุรกิจ

 

             จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ทุกๆคนได้รับรู้ข้อมูลและการรายงานผลการดำเนินงานทางการเงินต่างๆนั้น ส่วนใหญ่บริษัทจะนำเสนอในรูปแบบของต้นทุนและกำไรทางการบัญชี ซึ่งหากเราเป็นนักลงทุนที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental)  และลงทุนแบบเน้นมูลค่า(Value Investment)  จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนค่าเสียโอกาส และกำไรส่วนเพิ่มต่างๆ(ในกรณีที่บริษัทนั้นเลือกที่จะดำเนินงานในอนาคต) และการคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากปัจจัยที่มีความสำคัญทั้งหมดของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และสินทรัพย์อื่นๆครับ

 

By

Money Tu-Chem Team

(Challenge Me Tutor)

               

                

Tags : กำไร บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ แตกต่าง

view