สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ รู้เท่าทันดอกเบี้ย

ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ รู้เท่าทันดอกเบี้ย

ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ รู้เท่าทันดอกเบี้ย

                จะว่าไปแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า “ดอกเบี้ย”  เพราะคำๆนี้มันอยู่ในสังคมไทยมาช้านานแล้ว และก็แซงซึมอยู่ทุกย่อมหญ้าทางการเงิน  โดยที่ท่านผู้อ่านหลายๆคน คงเคยมีประสบการณ์ ไม่ว่าจะทางตรง(เป็นผู้ใช้เอง) หรือทางอ้อม(บุคคลใกล้ตัวใช้)กับดอกเบี้ยที่ว่านี้  ในเรื่องนี้ผมจะกล่าวและเล่าถึงนั้น ผมจะเล่าใน 2 ด้าน  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วน้อยคนนักที่จะนำเสนอในมุมมองหลายๆด้าน  ส่วนใหญ่จะนำเสนอแค่เราเป็นผู้ใช้ และเกิดอะไรขึ้นบ้างที่เป็นผลกระทบกับเรา  หารู้ไม่ว่าคำว่า “ดอกเบี้ย”นั้นมีหลายมิติ และมีหลายรูปแบบซึ่งเราคงได้ยินแค่ดอกเบี้ยบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลเท่านั้น แต่เคยรู้บ้างมั้ยว่า “ดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเงินเงินกู้เองก็มีความสัมพันธ์กัน”  มีเพียงแค่ดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตเท่านั้นที่ใจแข็ง คิดเท่าไหร่ก็เท่านั้น(ส่วนใหญ่เฉลี่ยประมาณ 15 -18%ต่อปี) และต้องบวกกับค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอีก ประมาณ 5%  ซึ่งในกรณีปกติของดอกเบี้ยบัตรเครดิต คุณจะเสียดอกเบี้ยที่ประมาณ 20 -23%  และในกรณีผิดนัดชำระหนี้คือการไม่จ่ายเงินในรอบนั้นหรือจ่ายน้อยกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่กำหนด  ทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่ประมาณ 28% (ตามที่กฎหมายกำหนดให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล คิดดอกเบี้ยแก่ลูกค้าสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี)

ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงบัตรเครดิตก่อนนะครับ

                ต่อไปนี้คือสิ่งที่คนหลายๆคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตครับ นั้นคือ “การเข้าใจผิดว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดจากยอดเงินที่เหลือค้างชำระ”  ถือว่าเป็นเรื่องที่สร้างความปั่นป่วนในการวางแผนทางการเงินของสังคมไทยในปัจจุบันที่เดียว …. ซึ่งเดิมทีผู้เขียนก็หลงเข้าใจผิดเช่นกัน ….  แล้ววิธีที่ถูกต้องนั้นละ^^! คือวิธีใด

วิธีการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ถูกต้องนั้นและเพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะสมสมติเป็นตัวอย่างให้นะครับ

สมมติว่า สรุปยอดทุกวันที่ 7   และกำหนดชำระทุกวันที่ 22  เป็นต้น

ถ้าในวันที่  1 มค.  เรารูดไป 10,000 บาท    และยอดที่ปรากฏใน statement จะโชว์ให้ชำระขั้นต่ำ 1,000 บาท(ขั้นต่ำ 10%) และยอดค้างทั้งหมดคือ 10,000 บาท

กรณีแรก ชำระทั้งหมดภายในวันที่ 22 มค. 10,000บาท 

-                    ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยใดๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ ^^

กรณีที่สอง ชำระขั้นต่ำในวันที่ 22 มค. 1,000 บาท มียอดคงเหลือ 8,000 บาท

-                    จะโดนคิดดอกเบี้ยแยกเป็น 2 ก้อน

-                    ก้อนแรกจะเป็นดอกเบี้ยตั้งแต่วันรูดซื้อสินค้า จนถึงวันที่ชำระเงินบางส่วน(กรณีนี้แค่ขั้นต่ำ) วันที่ 1 มค – 22มค.

{10,000 *[15%(ดอกเบี้ย)+5%(ค่าธรรมเนียมใช้บัตร) ]*22/365วัน}  = 120.55 บาท

-                    ก้อนที่สอง จะเริ่มคิดดอกเบี้ยหลังวันชำระเงินจนถึงวันวันตัดบัญชีในรอบหน้า(เดือน กพ.) วันที่22 มค - 7 กพ.

8,000 *[15%(ดอกเบี้ย)+5%(ค่าธรรมเนียมใช้บัตร) ]*16/365วัน}  = 70.14 บาท

 

ฉะนั้นเมื่อถึงวันที่ 22 กพ  จะโชว์ยอดค้างที่ 8,000 + ดอกเบี้ย(120.55+70.14) = 8,190.68 บาท

  • แต่หากเราไม่ชำระเงินเลยติดต่อกัน 2 งวดขึ้นไปทางธนาคารเจ้าของบัตรมีสิทธิติดตามและทวงถามโดยจะมีค่าธรรมเนียมนี้ประมาณ 200 -300 บาทต่อครั้งในการติดตามทวงถาม(แต่ละธนาคารคิดไม่เท่ากันและเงื่อนไขต่างกันเล็กน้อย)

ท่านผู้อ่านเห็นหรือไม่ครับว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นจะคิดตั้งแต่วันที่เรารูดเงินซื้อสินค้า ซึ่งผมจะชี้ให้เห็นว่าทางธนาคารไม่ได้เอาเปรียบทุกท่าน แต่เงื่อนไขและลักษณะของบัตรเครดิตนั้นเป็นแบบว่าเรายืมเงินในบัตรไปซื้อสินค้าก่อน และมีผลประโยชน์ให้ลูกค้าในการเพิ่มความสามารถทางการเงินในการซื้อสินค้าและปลอดดอกเบี้ย(ในกรณีชำระเงินทั้งหมด)  และโดย Common sense แล้ว ผู้ใช้วงเงินควรจะจ่ายดอกเบี้ยการยืมเงินจากบัตร  แต่หากเราชำระเงินภายในระยะเวลากำหนดทั้งหมด เราจะได้รับยกเว้นในการจ่ายดอกเบี้ย ………  (ตามแบบกรณีตัวอย่างแรก)

                เรามาพูดถึงในแง่ของธนาคารเกี่ยวบัตรเครดิตบ้างครับ แต่ไม่ขอลงลึกนะครับ เพราะต้องการให้ทราบเพียงคร่าวๆว่ารายได้ของธนาคารจากบัตรเครดิตมีมากมายหลายช่องทาง  1.ค่าดอกเบี้ย (จากที่กล่าวไว้ขั้นต้น)  2.ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร(จากที่กล่าวไว้ในขั้นต้น) 3.ค่าธรรมเนียมการติดตั้งเครื่องรับรูดบัตรและการเช่าเครื่องรูดบัตร  แต่ละธนาคารจะคิดในอัตราที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายปี 4.ค่าธรรมเนียมการรับรูดสินค้า (ธนาคารคิดกับร้านค้าที่ติดตั้งรับรูดบัตรเครดิต)  โดยส่วนใหญ่คิดที่ไม่เกิน ร้อยละ 2- 3% ของยอดเงิน  ทั้งนี้เงื่อนไขและโปรโมชั่นของธนาคารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  5.การร่วมโปรโมชั่นกับร้านค้าต่างๆ โดยทางธนาคารเจ้าของบัตรร่วมกับร้านค้าต่างๆในการยื่นข้อเสนอส่วนลด เช่นลดค่าอาหารหรือที่พัก 10%   หรือใช้ธนาคารนี้ผ่อน 0% นาน 10 เดือน  ซึ่งทางร้านค้าจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทางการตลาดเป็นส่วนใหญ่ (ส่วนเท่าไหร่นั้นผมไม่ทราบครับ)

จะเห็นได้เลยครับว่าทางธนาคารเจ้าของบัตรเองนั้นก็ไม่ได้มีรายได้หลักจากผู้ใช้บัตรเพียงอย่างเดียว ถ้าไม่จำเป็นเราก็ไม่ควรอุดหนุนค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตบ่อยๆนะครับ ^^!

กลยุทธ์ในการใช้บัตรเครดิต
                     วิธีการใช้บัตรเครดิตแบบชาญฉลาดนี้ เป็นเรื่องปกติที่เราสามารถหาช่องโหว่ หรือผลประโยชน์ของทางบัตรจากที่กล่าวมานั้นมีวิธีหลักๆในการใช้คือ

1.               การใช้เท่าที่จำเป็น และชำระยอดทั้งหมดในรอบบิลนั้นๆ  
ตามที่บอกเลยครับ ว่าการใช้บัตรเครดิตที่ดีนั้น เราสามารถใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวกในการซื้อสินค้าและไม่ต้องพกเงินสดติดตัวมากมาย  โดยจะแนะนำให้รูดใช้สินค้าเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ถึงเวลาเราจะได้มีเงินเพียงพอ ซึ่งผู้อ่านหลายๆท่านอาจหระสบปัญหาว่า “ทำอย่างไรดีละ ถึงจะมีเงินชำระบัตรเครดิตภายในวันครบกำหนดเต็มจำนวน และสม่ำเสมอ”     ผมแนะนำว่า “ให้คิดว่าการใช้บัตรเครดิตเหมือนกับการใช้เงินสด”  โดยวิธีคือหากเรารูดซื้อสินค้าไป 1,000 บาท  เราก็ดึงเงินในกระเป๋าออก 1,000 บาท ที่ทำแบบนี้เพียงเพราะให้เป็นแบบระบบคล้ายๆ Mark to market ของทฤษฎีทางการเงิน ว่าด้วยการปรับราคาสินทรัพย์ให้เป็นปัจจุบัน แต่เราประยุกต์มาปรับเงินในกระเป๋าเราแทน ^^  ซึ่งผลดีของเรื่องนี้คือนอกจากเรามีเงินพอจ่ายแล้ว เรายังได้เรื่องของการสะสมแต้มไว้หาผลประโยชน์ในอนาคตได้ด้วยครับ


2.              การซื้อของดอกเบี้ย 0%
ดอกเบี้ย 0% เป็นกลเม็ดทางการตลาดที่นิยมกันมากในสังคมของบัตรเครดิตที่กระจายตัวยิ่งกว่าสัญญาณ 3G และโดนใจผู้ใช้บัตรเครดิตแทบทุกท่าน  แต่ก็มีหลายคนไม่น้อยที่สุดท้าย จัดระบบการจ่ายเงินไม่ดี จนต้องมาเสียดอกเบี้ยจนได้   และก็เป็นปัญหาทางการเงินตามมา   สำหรับวิธีการจัดการกับเรื่องนี้ เราต้องมองไปถึงปัญหาต้นเหตุว่า ทำไมถึงต้องเสียดอกเบี้ย .. คำตอบคือ “ไม่มีตัง”  เป็นคำตอบคลาสสิกมากๆครับ  เพราะหลายๆท่านซื้อสินค้าดอกเบี้ยผ่อน 0% เพราะเงินไม่พอจะซื้อเป็นจำนวนเต็มทั้งหมด และสินค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างสูง  โดยที่ผู้ใช้บัตรที่ไม่วางแผนให้ดีซะก่อนจะต้องประสบปัญหา

ฉะนั้นเราจะทำอย่างไรดี  …. คำตอบคือว่า ถ้าเราต้องการสินค้าและกำลังจะซื้อโดยได้รับโปรโมชั่นผ่อน 0% ผ่านบัตรเครดิต เราควรจะต้องมีเงินซะก่อนครับ  คือควรจะมีเงินสดอย่างน้อย 40-50% ของราคาสินค้านั้นๆ ซึ่งเราต้องมาคำนวณรายรับต่อเดือนของเราอีกขั้นด้วยว่า รายได้หักค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ แล้วเราเหลือเท่าไหร่ ก่อนที่เราจะหยิบยื่นเอาสินค้าตัวนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกรายการ  เพื่อที่จะดูว่าเราสามารถผ่อนไหวหรือเปล่า และในกรณีที่รายได้ประจำเกิดติดขัดมีรายจ่ายที่ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าเกิดขึ้น เราจะมีเงินจ่ายสินค้าตัวนั้นมั้ย ซึ่งหากเราตอบโจทย์ตรงนี้ไม่ได้ ทางผู้เขียนแนะนำ (อย่าเพิ่งซื้อ)  เพราะจำไว้ว่าการผ่อน 0% มันเพียงแค่ยืดอายุการจ่ายเงิน และหากไม่จ่ายทั้งหมดในรอบบิลนั้นก็จะโดนคิดดอกเบี้ยอย่างที่กล่าวมาในขั้นต้น และที่น่ากลัวคือถ้าไม่มีเงินจ่ายทั้งหมดในรอบบิลแรกๆ  รอบถัดๆไปจะพอกหนี้เราเป็นดินพอกหางหมูและค่าดอกเบี้ยจะแพงมากๆ

3.               ใช้เพื่อร่วมรายการส่วนลดเท่านั้น

วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่น่าสนใจที่สุด และแนะนำให้ใช้ควบคู่กับกลยุทธ์วิธีแรกครับ

จากที่กล่าวขั้นต้นเกี่ยวกับโปรโมชั่นที่ทางร้านค้าร่วมกับธนาคารเจ้าของบัตรจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการตลาด ผู้ใช้บัตรจะได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้เต็มๆ คือนอกจากจ่ายเงินถูกลง ยังคงยืดเวลาชำระเงิน อีกทั้งยังสะสมคะแนนบัตรได้อีก  แต่อย่าลืมนะครับ “ให้ใช้คู่กับกลยุทธ์ที่หนึ่งเสมอนะ”

 

กลยุทธ์ 3 ข้อที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายที่ผมแนะนำนี้ เป็นเพียงกลยุทธ์ที่บุคคลทุกคนทำกันได้ เพียงแค่ขอมีระเบียบวินัยในการใช้วิธีดังกล่าวก็เพียงพอแล้ว

สำหรับหัวข้อหน้าผมจะพูดถึงเรื่องดอกเบี้ยกับการลงทุนอย่างชาญฉลาดครับ รอติดตามกันได้ที่

http://www.challengemetutor.com/

Admin by สุขโข  เงินหนู


Tags : ดอกเบี้ย  ลดดอกเบี้ย  บัตรเครดิต  การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต  การใช้บัตรเครดิต วิธีใช้ กลยุทธ์ดอกเบี้ย กลยุทธ์การใช้บัตรเครดิต ติวบัญชี  บทความบัญชี  บัญชีเบื้องต้น  บัญชีขั้นกลาง  บัญชีขั้นสูง  สอนพิเศษบัญชี  เรียนบัญชี  เรียนบัญชี บัญชีติวเตอร์  ปริญญาตรี

view