สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

กู้ซื้อรถ.. อย่างไรให้เพิ่มค่า

กู้ซื้อรถ.. อย่างไรให้เพิ่มค่า

                สวัสดีครับทุกคน วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาทางสังคมทางการเงินอีกอย่างหนึ่ง นั้นคือ “หนี้สิน” นั้นเอง ซึ่งจริงๆแล้วหนี้สินไม่ใช่ตัวปัญหาที่ทำให้ผู้ก่อมีปัญหาทางการเงิน แต่ด้วยนิสัยส่วนตัวในการสร้างหนี้ หรือวัตถุประสงค์ในการสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้ประโยชน์ต่างหากครับ ที่ทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวผู้สร้างหนี้สิน

                ยกตัวอย่างเช่น  นาย ก อายุ 25 ปี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีเงินเดือนประมาณ 17,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนตัวประมาณ 6,500 บาท อาศัยอยู่กับบิดามารดา  มีเงินออมอยู่ประมาณ 100,000 บาท ไม่มีภาระหนี้สินใดๆในปัจจุบัน และทำงานมาได้หลังเรียนจบประมาณ 2-3 ปี  เริ่มคิดที่จะซื้อรถยนต์สักคันราคาประมาณ 800,000 บาท  วางเงินดาวน์ 10% คือ 80,000 บาท และที่เหลือ 720,000 บาท ผ่อนเป็นระยะเวลา 10 ปี ดอกเบี้ย 2% ซึ่งนาย ก ต้องมีภาระผ่อนต่อเดือน เดือนละ 7,200 (คิดจาก >> ดอกเบี้ย = 720,000 x 2% x 10 =144,000  >> ดังนั้นเงินต้นรวมดอกเบี้ย = 720,000 + 144,000 = 864,000  >> ดังนั้นผ่อนต่อเดือน = 864,000/120เดือน = 7,200 ต่อเดือน)   ทั้งนี้เหตุผลที่นาย ก ต้องการผ่อนรถ เพื่อต้องการใช้รถเพื่อเดินทางไปทำงาน และเพื่อใช้ท่องเที่ยวในวันหยุดพักผ่อนเท่านั้น

                จากข้อมูลทางการเงินของนาย ก ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาใดๆ เพราะนาย ก ไม่มีหนี้สินอื่นๆ บ้านไม่ต้องเช่า และยังไม่มีภาระใดๆ อีกทั้งยังมีเงินเก็บอีกประมาณ 100,000 บาท ซึ่งก็เพียงพอต่อการวางเงินดาวน์รถออกมาใช้งาน  แต่หากมองลึกไปอีกขั้น รายได้หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวนาย ก กลับเหลือแค่ 10,500 บาท (17,000 - 6,500) และหากผ่อนรถอีกเดือนละ 7,200 บาท ก็จะเหลือเงินออมที่ 3,300 บาทต่อเดือน (10,500 -7,200)  หากมองผิวเผินก็ยังมีเงินเก็บบ้างใช่มั้ยครับ  งั้นเราลองถามนาย ก กันดีกว่าครับว่า เงินที่เหลือ 3,300 บาทต่อเดือน มันดีแล้วหรือยัง?

                ซึ่งหากเราลองเปรียบเทียบเงินเหลือออมต่อรายได้ จะอยู่ที่ 19.41% (3,300 /17,000)  จะเห็นว่ามากกว่า 10% ซะอีก หากจะมองที่อัตราส่วนเงินเหลือต่อรายได้อย่างเดียวนะครับ และบอกว่าเพียงพอแล้ว “ก็เอาที่สบายใจละกันนะครับ 5555” แต่ผมจะถามต่อไปว่า คุณได้คิดแล้วหรือยังว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอีก อาทิ ค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าต่อทะเบียน ค่า พ.ร.บ. หรือแม่กระทั่งค่าที่จอดรถ  อยากถามนาย ก ว่าได้เอาค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาคำนวณแล้วหรือไม่ ซึ่งเงิน 3,300 บาทที่เหลือ ก็ไม่น่าจะพอแต่อย่างใด แล้วที่สำคัญรถเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่เสื่อมสภาพและราคาลดลงตามกาลเวลาอายุการใช้งาน

                จากจุดนี้จึงได้ข้อสรุปได้ว่านาย ก ยังไม่สมควรมีซื้อรถในขณะนี้ครับ เพราะถึงแม่ว่านาย ก จะใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกินเดือนละ 6,500 บาท แต่นาย ก ไม่มีเงินเหลือยามฉุกเฉินเลย หากมีการซื้อรถคันดังกล่าว และที่สำคัญประโยชน์ที่ใช้งานรถยนต์กลับไม่สามารถสร้างมูลค่าให้แก่นาย ก เลยแม้แต่เงินบาทเดียว นอกจากความสะดวกสบายที่ได้รับครับ

 

                ตัวอย่างที่ 2  นาย A  อายุ 25 ปี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีเงินเดือนประมาณ 17,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนตัวประมาณ 6,500 บาท อาศัยอยู่กับบิดามารดา  มีเงินออมอยู่ประมาณ 100,000 บาท ไม่มีภาระหนี้สินใดๆในปัจจุบัน และทำงานมาได้หลังเรียนจบประมาณ 2-3 ปี และมีอาชีพเสริมคือเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทแห่งหนึ่งแบบ Part Time เริ่มคิดที่จะซื้อรถยนต์สักคันราคาประมาณ 800,000 บาท  วางเงินดาวน์ 10% คือ 80,000 บาท และที่เหลือ 720,000 บาท ผ่อนเป็นระยะเวลา 10 ปี ดอกเบี้ย 2% ซึ่งนาย ก ต้องมีภาระผ่อนต่อเดือน เดือนละ 7,200 (คิดจาก >> ดอกเบี้ย = 720,000 x 2% x 10 =144,000  >> ดังนั้นเงินต้นรวมดอกเบี้ย = 720,000 + 144,000 = 864,000  >> ดังนั้นผ่อนต่อเดือน = 864,000/120เดือน = 7,200 ต่อเดือน)   ทั้งนี้เหตุผลที่นาย ก ต้องการผ่อนรถ เพื่อต้องการใช้รถเพื่อนำไปใช้เดินทางหาลูกค้าเพื่อขายประกันภัย เนื่องจากต้องการมีความสามารถในการพบปะลูกค้า ได้ง่ายและพบได้จำนวนมากรายเพิ่มขึน จากเดินทางรถโดยสานสารธารณะอาจพบได้แค่ 1-2 คน  แต่ถ้ามีรถส่วนตัวก็สามารถพบได้ 2-3 คนต่อวัน(ทั้งนี้ จะได้พบปะลูกค้าที่มีศํกยภาพทางการเงิน และทางตัวแทนต้องเดินทางไปพบปะถึงที่พักอาศัยลูกค้าเหล่านั้น)

                ดังนั้น จากเงินเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาระผ่อนรถ จะเหลือเงินเดือนละ 3,300 บาท(อ้างอิงตัวเลขจากนาย ก)  และหากนาย A มีรถและทำให้มีรายได้จากการขายประกันเพิ่มขึ้นที่เฉลี่ยเดือนละ 7,000 – 8,000 บาท จึงเป็นเหตุผลที่นาย A เลือกที่จะสร้างภาระหนี้สินจากรถยนต์  และจากที่ต้องผ่อนรถเดือนละ 7,200 บาท รวมค่าใช่จ่ายน้ำมัน ประกันภัยและอื่นๆ ก็ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือนได้ แต่ยังมีรายได้ส่วนเพิ่มจากประกันประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน ก็ทำให้รับภาระผ่อนต่อเดือนจริงที่ 2,000 บาทต่อเดือนเท่านั้นเองครับ  และหากนายA สามารถสร้างฐานลูกค้าและทำงานในวงการประกันต่อไปได้อย่างราบรื่น อนาคตรายได้ย่อมมากกว่าเดือนละ 8,000 แน่นอน สมมติหากมีรายได้จากประกันเดือนละ 10,000 บาท ก็เท่ากับว่า รายได้ส่วนเพิ่มจากประกันนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของรถยนต์  หากรายได้จากกระกันเกินเดือนละ 10,000 บาท นอกจากรายได้ส่วนเพิ่มจากประกันจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายประกันแล้ว ยังสามารถทำให้ความมั่งคั่งและนายA  มีเงินเหลือเก็บมากยิ่งขึ้นไปอีก

                จะสังเกตได้ว่า ทั้งนาย ก และนายA มีรายได้และค่าใช้จ่ายเหมือนๆกัน แต่นาย A เลือกที่จะสร้างภาระหนี้จากการซื้อรถยนต์เพื่อทำงาน และสร้างให้เกิดรายได้ แต่นาย ก กลับนำไปใช้แค่เรื่องส่วนตัวปกติ  ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน นี้ทำให้ผลของการก่อหนี้จากรถยนต์ให้ผลที่แตกต่างกัน

                “มุมมองที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นหลักทรัพย์ชนิดเดียวกัน ก็ให้ผลที่แตกต่างกัน หากมองว่าเป็นสินทรัพย์เพื่อลงทุน ก็จะเป็นการลงทุน  หากมองเป็นสินทรัพย์ใช้ฟุ่มเฟือยส่วนตัว มันก็จะเป็นแค่สินทรัพย์ธรรมดา”  ทุกอย่างอยู่ที่มุมมองของเรานั้นเองครับ ว่าจะเลือกใช้ประโยชน์หรือใช้เล่น ก็เท่านั้นเองครับ

 

อาจารย์ฟิวส์

Challenge Me Tutor


Tags : หนี้สิน  กู้เงิน  ซื้อรถ  ออม  รายได้  การเงิน 

view